ไขมันพอกตับ ภัยเงียบที่แฝงมาโดยไม่รู้ตัว

 

     ไขมันมันพอกตับคือ (Fatty Liver Disease) คือภาวะที่ไขมันเข้าไปแทรกที่เซลล์ของตับ ซึ่งหากสะสมมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเป็นภาวะไขมันพอกตับ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรือเซลล์ตับตาย และเกิดพังผืดภายในตับ จนกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด 

 

อาการของไขมันพอกตับ

อาการของไขมันพอกตับจะไม่แสดงให้เห็น แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะพบโรคนี้ด้วยความบังเอิญเมื่อมารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อรักษาโรคอื่น ผู้ป่วยเมื่อเป็นเริ่มแรกมักจะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่จะสังเกตุได้จากอาการเมื่อมีไขมันสะสมอยู่ในตับจำนวนมาก โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ

1.รู้สึกไม่สบายท้อง

2.เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

3.น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง

4.มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ลงและคลื่นไส้เป็นบางครั้ง

5.มีอาการตึงๆ บริเวณใต้ชายโครงขวา

 

ภาวะไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 มีไขมันเกาะอยู่ที่เนื้อตับ แต่ยังไม่เกิดการอักเสบ

ระยะที่ 2 เริ่มมีการอักเสบของตับ หากปล่อยไว้นานเกิน 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้

ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรงขึ้น เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นและกลายเป็นพังผืด

ระยะที่ 4 เนื้อเยื่อตับถูกทำลายจนทำงานผิดปกติ กลายเป็นตับแข็ง และอาจเป็นมะเร็งตับได้

 

อาการแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมา

1.มีน้ำในช่องท้อง

2.เส้นเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง

3.มึนงง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ซึ่งส่งผลถึงสมอง

4.ตับวายหรือตับหยุดการทำงาน

5.มะเร็งตับ

 

สาเหตุของไขมันพอกตับ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

1.มีโรคประจำตัวเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง

2.การลดน้ำหนัก การอดอาหาร การออกกำลัง อย่างผิดวิธี

3.การติดเชื้อจากไวรัส เช่น เชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบซี

4.การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

5.การทานอาหารหารให้พลังงานสูงมากเกินไป

6.ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่นจากพืชผัก ผลไม้ ยาฆ่าแมลง

7.การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

8.การดื่มแอลกอฮอล์

9.ผลข้างเคียงจากการกินยารักษาโรค เช่นยาพาราเซตามอล  ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัด ยาต้านไวรัส ยาต้านฮอร์โมน เป็นต้น

10.ความผิดปกติของลำไส้ในการดูดซึมสารอาหาร

 

การป้องกันไขมันพอกตับ

1.ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3-4 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละอย่างน้อย 45 นาที - 1 ชั่วโมง

3.งดรับประทานขนมจุกจิก ขนมขบเคี้ยว ลดแป้ง ลดของหวาน และน้ำอัดลม

4.รับประทานทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้

5.ลดอาหารประเภทไขมัน เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังอย่างโรคอ้วน และโรคเบาหวาน และป้องกันไม่ให้ระดับไขมันในเลือดสูง

6.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

7. หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะอาหารเสริมประเภทน้ำมันต่าง ๆ เช่น น้ำมันปลา น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส และสมุนไพรต่าง ๆ

 

อาหารลดไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับมีไขมันเลวสูง ดังนั้นควรลดไขมันเลว โดยรับประทานไขมันดีให้มาก เพราะไขมันดีจะช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ ไขมันดีพบได้ในอาหารมากมาย เช่น

1.ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาบะ  ปลาทู ปลากะพงขาว ปลาสำลี ปลาเก๋า ไม่ควรรับประทานด้วยการทอดควรใช้วิธีต้ม นึ่ง หรืออบแทน

2.น้ำมันพืชชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดฟักทอง น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นไขมันที่ดี ก็ไม่ควรทานเยอะเกินไป เพราะน้ำมันให้พลังงานสูง หากทานไปก็อาจจะทำให้อ้วนได้

3.ถั่วชนิดต่างๆ เช่นอัลมอนด์  พิสตาชิโอ  เม็ดมะม่วงหิมพานต์  แมคคาเดเมีย มีกรดไขมันดีอยู่มากโดยกรดไขมันดีจะช่วยลดไขมันชนิดเลวในร่างกาย และเพิ่มปริมาณไขมันดีให้กับร่างกาย

4.ข้าวกล้องเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินบี กาบา และกรดโฟลิก ที่สำคัญในข้าวกล้องยังมีไฟเบอร์อยู่มาก ซึ่งไฟเบอร์จะมีส่วนช่วยดักจับไขมันและขับไขมันออกจากร่างกายก่อนร่างกายจะดูดซึมไขมันเอาไว้

5.ผักใบเขียว เช่นบรอกโคลี คะน้า ผักโขม และผักใบเขียวเกือบทุกชนิดยังมีส่วนช่วยป้องกันไขมันเกาะตับ และช่วยในการลดน้ำหนักซึ่งจะดีกับการทำงานของตับอีกด้วย

 

credit ภาพ:  Internet